ดีงู ๒

Helicteres lanceolata A. DC. var. lanceolata

ชื่ออื่น ๆ
ปีกไก่ดำ (ตะวันออกเฉียงเหนือ)

ดีงูชนิดนี้เป็นไม้พุ่ม สูง ๑-๒ ม. เปลือกบางมี เส้นใย กิ่งอ่อนมีขนประปราย เนื้อไม้สีขาว หรือสีขาวแกม สีเหลือง ใบเดี่ยว เรียงสลับระนาบเดียว รูปขอบขนาน แกมรูปใบหอกหรือรูปรี กว้าง ๒-๕.๕ ซม. ยาว ๔-๑๘ ซม. แผ่นใบบางถึงค่อนข้างหนา ปลายแหลมถึงเรียวแหลม โคนมนหรือสอบแคบ ขอบเรียบหรือเป็นคลื่นบ้างเล็กน้อย เส้นโคนใบ ๓ เส้น ปลายเส้นคู่ข้างไปสุดที่ขอบใบประมาณ กึ่งกลางใบ เส้นแขนงใบข้างละ ๓-๕ เส้น ปลายโค้งขึ้นแต่ มักไม่เชื่อมกับเส้นถัดขึ้นไป นูนทางด้านล่างและมักเป็น ร่องทางด้านบน เส้นใบย่อยคล้ายขั้นบันได เห็นได้ชัดทาง ด้านล่าง ก้านใบยาวไม่เกิน ๑ ซม. เมื่ออ่อนมีขนนุ่ม ช่อดอกแบบช่อกระจุก ช่อกระจุกเชิงประกอบ หรือลดรูปเหลือเพียง ๑ ดอก ออกตามซอกใบ ตรงข้ามกับ ใบและปลายกิ่ง ช่อยาว ๐.๕-๑ ซม. ทุกส่วนมีขนหนา แน่น กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย ปลายแยก เป็น ๕ แฉก ขนาดไม่เท่ากัน แฉกกว้าง ๑.๕-๒ มม. ยาว ๒-๓ มม. ด้านในเกลี้ยงหรือเกือบเกลี้ยง ด้านนอกมีขน หนาแน่น กลีบดอก ๕ กลีบ สีเหลืองอ่อน สีขาว หรือ สีชมพูอ่อน รูปใบหอกกลับหรือรูปไข่กลับ กว้างประมาณ ๒ มม. ยาว ๐.๘-๑ ซม. ปลายกลีบมนหรือเว้าเข้าเล็กน้อย เกลี้ยง เกสรเพศผู้ ๑๐ เกสร อับเรณูติดที่ฐาน แตกด้าน ข้างตามยาว รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ รูปไข่ มีพูตามยาว ๕ พู และมีขนหนาแน่น มี ๕ ช่อง แต่ละช่องมีออวุลจำนวนมาก ก้านยอดเกสรเพศเมียเรียวแหลม ปลายแยกเป็น ๕ แฉก ปลายแฉกมักโค้งกลับ ผลแบบผลแห้งแตก รูปทรงกระบอก กว้าง ประมาณ ๑ ซม. ยาว ๒.๓-๕ ซม. เป็นพูตามยาว ๕ พู เมื่ออ่อนมีขนนุ่มหนาแน่น เมื่อแก่เกลี้ยงหรือเกือบเกลี้ยง ปลายพูเรียวคอด ปลายสุดแยกเป็นแฉกแหลม ๕ แฉก มีกลีบเลี้ยงติดทนและขยายใหญ่หุ้มโคนผล ก้านผลยาว ๑-๑.๕ ซม. เมล็ดขนาดเล็ก รูปทรงค่อนข้างกลม มี จำนวนมาก ดีงูชนิดนี้มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทย เกือบทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ พบตามป่าผลัดใบและป่าดิบ แล้ง ที่สูงจากระดับทะเล ๔๐-๔๐๐ ม. ส่วนมากออกดอก และเป็นผลเกือบตลอดทั้งปี ในต่างประเทศพบที่อินเดีย เมียนมา จีนตอนใต้ ลาว กัมพูชา มาเลเซีย และฟิลิปปินส์.


     ดีงูชนิดนี้เป็นไม้พุ่ม สูง ๑-๒ ม. เปลือกบางมี เส้นใย กิ่งอ่อนมีขนประปราย เนื้อไม้สีขาว หรือสีขาวแกม สีเหลือง
     ใบเดี่ยว เรียงสลับระนาบเดียว รูปขอบขนาน แกมรูปใบหอกหรือรูปรี กว้าง ๒-๕.๕ ซม. ยาว ๔-๑๘ ซม. แผ่นใบบางถึงค่อนข้างหนา ปลายแหลมถึงเรียวแหลม โคนมนหรือสอบแคบ ขอบเรียบหรือเป็นคลื่นบ้างเล็กน้อย เส้นโคนใบ ๓ เส้น ปลายเส้นคู่ข้างไปสุดที่ขอบใบประมาณ กึ่งกลางใบ เส้นแขนงใบข้างละ ๓-๕ เส้น ปลายโค้งขึ้นแต่ มักไม่เชื่อมกับเส้นถัดขึ้นไป นูนทางด้านล่างและมักเป็น ร่องทางด้านบน เส้นใบย่อยคล้ายขั้นบันได เห็นได้ชัดทาง ด้านล่าง ก้านใบยาวไม่เกิน ๑ ซม. เมื่ออ่อนมีขนนุ่ม
     ช่อดอกแบบช่อกระจุก ช่อกระจุกเชิงประกอบ หรือลดรูปเหลือเพียง ๑ ดอก ออกตามซอกใบ ตรงข้ามกับ ใบและปลายกิ่ง ช่อยาว ๐.๕-๑ ซม. ทุกส่วนมีขนหนา แน่น กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย ปลายแยก เป็น ๕ แฉก ขนาดไม่เท่ากัน แฉกกว้าง ๑.๕-๒ มม. ยาว ๒-๓ มม. ด้านในเกลี้ยงหรือเกือบเกลี้ยง ด้านนอกมีขน หนาแน่น กลีบดอก ๕ กลีบ สีเหลืองอ่อน สีขาว หรือ สีชมพูอ่อน รูปใบหอกกลับหรือรูปไข่กลับ กว้างประมาณ ๒ มม. ยาว ๐.๘-๑ ซม. ปลายกลีบมนหรือเว้าเข้าเล็กน้อย เกลี้ยง เกสรเพศผู้ ๑๐ เกสร อับเรณูติดที่ฐาน แตกด้าน ข้างตามยาว รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ รูปไข่ มีพูตามยาว ๕ พู และมีขนหนาแน่น มี ๕ ช่อง แต่ละช่องมีออวุลจำนวนมาก ก้านยอดเกสรเพศเมียเรียวแหลม ปลายแยกเป็น ๕ แฉก ปลายแฉกมักโค้งกลับ
     ผลแบบผลแห้งแตก รูปทรงกระบอก กว้าง ประมาณ ๑ ซม. ยาว ๒.๓-๕ ซม. เป็นพูตามยาว ๕ พู เมื่ออ่อนมีขนนุ่มหนาแน่น เมื่อแก่เกลี้ยงหรือเกือบเกลี้ยง ปลายพูเรียวคอด ปลายสุดแยกเป็นแฉกแหลม ๕ แฉก มีกลีบเลี้ยงติดทนและขยายใหญ่หุ้มโคนผล ก้านผลยาว ๑-๑.๕ ซม. เมล็ดขนาดเล็ก รูปทรงค่อนข้างกลม มี จำนวนมาก
     ดีงูชนิดนี้มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทย เกือบทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ พบตามป่าผลัดใบและป่าดิบ แล้ง ที่สูงจากระดับทะเล ๔๐-๔๐๐ ม. ส่วนมากออกดอก และเป็นผลเกือบตลอดทั้งปี ในต่างประเทศพบที่อินเดีย เมียนมา จีนตอนใต้ ลาว กัมพูชา มาเลเซีย และฟิลิปปินส์.

 

 

 

 

ชื่อหลักหรือชื่อทางการ
ดีงู ๒
ชื่อวิทยาศาสตร์
Helicteres lanceolata A. DC. var. lanceolata
ชื่อสกุล
Helicteres
คำระบุชนิด
lanceolata
ชื่อผู้ตั้งพรรณพืช
- A. DC.
ชื่อชนิดย่อย (ถ้ามี)
var. lanceolata
ช่วงเวลาเกี่ยวกับผู้ตั้งพรรณพืช
- A. DC. ช่วงเวลาคือ (1806-1893)
ชื่ออื่น ๆ
ปีกไก่ดำ (ตะวันออกเฉียงเหนือ)
ผู้เขียนคำอธิบาย
ดร.จำลอง เพ็งคล้าย
แหล่งอ้างอิง
อนุกรมวิธานพืช อักษร ด กองวิทยาศาสตร์อนุกรมวิธานพืช อักษร ด. pdf.